วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วงดนตรีของไทย มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องเป่า คือ ปี่ และเครื่องตี (พาทย์) โดยที่เครื่องดนตรีที่ใช้จะไม่มีเครื่องสายมาประกอบ
2. วงเครื่องสาย เป็นวงดนตรีที่มีแต่เครื่องสายล้วน ๆ ไม่มีเครื่องตี ที่ใช้สำหรับดำเนินทำนองมาร่วมบรรเลง จะมีเฉพาะเครื่องตีที่ใช้ประกอบจังหวะ เช่น กลอง ฉาบ กรับ โหม่ง และฉิ่ง ส่วนเครื่องเป่าก็ใช้ขลุ่ย ไม่ใช้ปี่เพราะเสียงจะดังเกินต้องการ
3. วงมโหรี เป็นวงดนตรีที่นำเอาวงปี่พาทย์และเครื่องสายมาผสมกัน ทำให้มีเครื่องดนตรีครบทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า แต่เครื่องเป่าจะใช้ขลุ่ย
การผสมวงของทั้ง 3 ประเภท มีขนาดต่าง ๆ ซึ่งจะใช้ตามโอกาสและตามแต่ความประสงค์ของผู้ใช้ หรือผู้ฟัง

ประเภทของเพลงไทย เพลงไทยมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ บรรเลงล้วน ๆ และเพลงขับร้องประกอบการบรรเลง
1. บทเพลงล้วน ๆ ได้แก่ เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เพลงเรื่อง เพลงภาษา เพลงหางเครื่อง หรือเพลงลูกบท
2. ขับร้องประกอบการบรรเลง ได้แก่ เพลงเถา (มีอัตราจังหวะ 3 ชั้น 2 ชิ้น ชั้นเดียวบรรเลงต่อกัน) เพลงตับ (มีตับเพลง ตับเรื่อง) เพลงเกร็ด (เป็นเพลงสั้น ๆ)

เครื่องดนตรีไทย
1. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด

2. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี

3. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี

4. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า

เครื่องดนตรีตะวันตก
เครื่องดนตรีตะวันตก ประกอบด้วย 4 – 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องสาย (String) เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย เช่น
1.1 เครื่องสายประเภทสี ได้แก่ ไวโอลิน (Violin) วิโอลา (viola) เซลโล (Vioion Cello) และดับเบิลเบส (Double Bass)
1.2 เครื่องสายประเภทดีด ได้แก่ แมนโดลิน เบนโจ ลิวท์หรือลูท กีตาร์ ฮาร์พ
1.3 เครื่องสายประเภทลิ่มนิ่ว ได้แก่ เปียโน (Piano)
2. เครื่องสายประเภทเป่าลมไม้ (Wood Wind Intrument)
2.1 เครื่องเป่าตระกูลขลุ่ย ได้แก่ (Flut) ปิคโคโล (Piccolo) ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder) เป็นต้น
2.2 เครื่องเป่าประเภทปี่ลิ้นเดียว ได้แก่ แซกโซโฟน (Saxophone) ปี่ตคลาริเนท (Clarinet)
2.3 เครื่องเป่าประเภทปี่ลิ้นคู่ ได้แก่ ปี่โอโบ (Oboe) บาสซูน (Bassoon) อิงลิชฮอร์น (English Horn)
3. เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Wind Instrument) ได้แก่ ทรัมเปท (Trumpet) คอร์เน (Cornet) เฟรนช์ฮอร์น (French Horn) ทรอมโบน (Trombone) ยูโฟเนียม (Euphonium) บาริโทนฮอร์น (Baritone Horn) เบสทูบา (Tuba) ซูซ่าโฟน (Sousaphone)
4. เครื่องกำกับจังหวะ (Percussion) เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้กำกับจังหวะเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ กลองทิมปานี บองโก ทอมบา กลองชุด แทมบูลิน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเครื่องดำเนินทำนอง แต่จัดเป็นกลุ่มเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ไซโลโฟน ไวบราโนโฟน ฯลฯ
5. เครื่องดนตรีไฟฟ้า (Electronic) ได้แก่เครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท ได้แก่ กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสไฟฟ้า เปียโนไฟฟ้า คีย์บอร์ด กลองไฟฟ้า ไวโอลินไฟฟ้า ฯลฯ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ประกอบการสร้างเพลงด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก


นางสาวพัชรินทร์ นะสีโต นักศึกษาพยาบาลศาสตรต่อเนื่องรุ่นที่16