วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วงดนตรีของไทย มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องเป่า คือ ปี่ และเครื่องตี (พาทย์) โดยที่เครื่องดนตรีที่ใช้จะไม่มีเครื่องสายมาประกอบ
2. วงเครื่องสาย เป็นวงดนตรีที่มีแต่เครื่องสายล้วน ๆ ไม่มีเครื่องตี ที่ใช้สำหรับดำเนินทำนองมาร่วมบรรเลง จะมีเฉพาะเครื่องตีที่ใช้ประกอบจังหวะ เช่น กลอง ฉาบ กรับ โหม่ง และฉิ่ง ส่วนเครื่องเป่าก็ใช้ขลุ่ย ไม่ใช้ปี่เพราะเสียงจะดังเกินต้องการ
3. วงมโหรี เป็นวงดนตรีที่นำเอาวงปี่พาทย์และเครื่องสายมาผสมกัน ทำให้มีเครื่องดนตรีครบทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า แต่เครื่องเป่าจะใช้ขลุ่ย
การผสมวงของทั้ง 3 ประเภท มีขนาดต่าง ๆ ซึ่งจะใช้ตามโอกาสและตามแต่ความประสงค์ของผู้ใช้ หรือผู้ฟัง

ประเภทของเพลงไทย เพลงไทยมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ บรรเลงล้วน ๆ และเพลงขับร้องประกอบการบรรเลง
1. บทเพลงล้วน ๆ ได้แก่ เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เพลงเรื่อง เพลงภาษา เพลงหางเครื่อง หรือเพลงลูกบท
2. ขับร้องประกอบการบรรเลง ได้แก่ เพลงเถา (มีอัตราจังหวะ 3 ชั้น 2 ชิ้น ชั้นเดียวบรรเลงต่อกัน) เพลงตับ (มีตับเพลง ตับเรื่อง) เพลงเกร็ด (เป็นเพลงสั้น ๆ)

เครื่องดนตรีไทย
1. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด

2. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี

3. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี

4. เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า

เครื่องดนตรีตะวันตก
เครื่องดนตรีตะวันตก ประกอบด้วย 4 – 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องสาย (String) เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย เช่น
1.1 เครื่องสายประเภทสี ได้แก่ ไวโอลิน (Violin) วิโอลา (viola) เซลโล (Vioion Cello) และดับเบิลเบส (Double Bass)
1.2 เครื่องสายประเภทดีด ได้แก่ แมนโดลิน เบนโจ ลิวท์หรือลูท กีตาร์ ฮาร์พ
1.3 เครื่องสายประเภทลิ่มนิ่ว ได้แก่ เปียโน (Piano)
2. เครื่องสายประเภทเป่าลมไม้ (Wood Wind Intrument)
2.1 เครื่องเป่าตระกูลขลุ่ย ได้แก่ (Flut) ปิคโคโล (Piccolo) ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ (Recorder) เป็นต้น
2.2 เครื่องเป่าประเภทปี่ลิ้นเดียว ได้แก่ แซกโซโฟน (Saxophone) ปี่ตคลาริเนท (Clarinet)
2.3 เครื่องเป่าประเภทปี่ลิ้นคู่ ได้แก่ ปี่โอโบ (Oboe) บาสซูน (Bassoon) อิงลิชฮอร์น (English Horn)
3. เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Wind Instrument) ได้แก่ ทรัมเปท (Trumpet) คอร์เน (Cornet) เฟรนช์ฮอร์น (French Horn) ทรอมโบน (Trombone) ยูโฟเนียม (Euphonium) บาริโทนฮอร์น (Baritone Horn) เบสทูบา (Tuba) ซูซ่าโฟน (Sousaphone)
4. เครื่องกำกับจังหวะ (Percussion) เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้กำกับจังหวะเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ กลองทิมปานี บองโก ทอมบา กลองชุด แทมบูลิน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเครื่องดำเนินทำนอง แต่จัดเป็นกลุ่มเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ไซโลโฟน ไวบราโนโฟน ฯลฯ
5. เครื่องดนตรีไฟฟ้า (Electronic) ได้แก่เครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท ได้แก่ กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสไฟฟ้า เปียโนไฟฟ้า คีย์บอร์ด กลองไฟฟ้า ไวโอลินไฟฟ้า ฯลฯ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ประกอบการสร้างเพลงด้วย

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างไร

วิชาชีพพยาบาลจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการให้การพยาบาล ผู้ป่วยเมื่อมานอนรักษาในโรงพยาบาลจะต้องมีจิตใจและความรู้สึกที่กลัวการเจ็บป่วย การตาย พยาบาลจะถูกถามด้วยคำถามต่างๆนาๆ โดยผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งการพยาบาลที่แตกต่างกันออกไป การปฏิบัติงาน และการให้การพยาบาลต่อผู้ป่วย สุนทรียศาสตร์จึงมีส่วนช่วยทำให้เกิดความสมดุลย์ของกาย คือมีเหตุมีผล ของจิตก็คือ มีความรู้สึก ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุมีผล และส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆที่บนโลกใบนี้ เรียนรู้สัจจะธรรมความไม่เที่ยงแท้ เกิด แก่ เจ็บ ตายของมนุษย์ ช่วยเตือนสติตนเองให้มีอารมณ์ที่มั่นคง และไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต ยอมรับกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ทั้งคนรอบข้างและตัวเอง ช่วยให้สามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆได้ ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงมีประโยชน์มากๆ

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมอย่างไร?

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ช่วยในการส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจความงามอย่างสมเหตุสมผล ช่วยกล่อมเกลาให้มีจิตใจที่อ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างสมเหตุสมผล เสริมสร้างประสบการณ์เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสันติสุข ช่วยเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขเกี่ยวกับความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมบนโลกใบนี้ ให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง ช่วยให้มีการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและทำให้เห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆในทางด้านบวกเสมอ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

ความหมายของสุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”
ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ
ศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
• ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )
• ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )
• ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )
• จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )
• สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )
• ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )
เกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ คืออะไร ?
การตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ คือ การที่เราใช้จิตแสดงปฏิกิริยาต่อสภาพการณ์ในสิ่งแวดล้อม หรือการที่จิตประเมินค่าวัตถุที่มีคุณค่า ที่เร้าให้เกิดความรู้สึกภายในจิตใจ แม้ว่าความงามจะขึ้นอยู่กับจิต แต่ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตามใจชอบ หากแต่ต้องขึ้นอยู่กับคุณค่าที่มีอยู่ในวัตถุนั้น ๆ ด้วย
มุมมองทางความคิดของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน หลากหลายออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ว่าใช้อะไรเป็นหลักในการตัดสินสิ่งต่าง ๆ และการตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มแนวคิด ดังนี้
1. กลุ่มที่ใช้ตนเองเป็นตัวตัดสิน
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ อัตนัยนิยม ” ( Subjectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ความรู้ ความจริงและความดีงามทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงในตัวเอง หากแต่เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเท่านั้น ดังนั้น กฎเกณฑ์ในทางความรู้ ความจริงและความดีงามนี้จึงไม่มีอยู่จริง มนุษย์เท่านั้นที่มีอยู่จริงและจะเป็นตัวตัดสิน พร้อมทั้งเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา มนุษย์แต่ละคนต่างมีมาตรวัดความจริงต่างกันออกไปโดยไม่ขึ้นอยู่กับใครหรือสิ่งใด เกณฑ์การตัดสินแบบนี้สามารถทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองได้ แต่หากความรู้สึกเชื่อมั่นนี้มีมากจนเกินไปอาจจะส่งผลทำให้เราเป็นผู้ที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตัวเอง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลต่อไปคือ ทำให้เรามีโลกทัศน์ที่แคบ และเดียวดายในโลกกว้างนี้ นักสุนทรียศาสตร์ในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มโซฟิสต์ ( Sophist ) ฮอบส์ ( Hobbes ) และออร์เตกา ( Ortega ) เป็นต้น
2. กลุ่มที่เชื่อว่า มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวที่จะใช้ตัดสินได้
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ ปรนัยนิยม ” ( Objectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า มีเกณฑ์มาตรฐานตายตัวแน่นอนในทางศิลปะ ซึ่งสามารถนำไปตัดสินผลงานได้ในทุกสมัย เกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกใครหรือศิลปินคนไหน กลุ่มนี้มีความเชื่ออีกว่า สุนทรียธาตุมีอยู่จริง แม้ว่าเราจะเข้าถึงมันไม่ได้ก็ตาม แต่มันก็มีอยู่จริง และด้วยเหตุผลนี้ การที่เราตัดสินศิลปะออกมาไม่เหมือนกันก็เพราะเราแต่ละคนไม่สามารถเข้าถึงสุนทรียธาติที่แท้จริงได้หรือตัวจริงมาตรฐานนั่นเอง การที่เราจะเข้าถึงเกณฑ์มาตรฐานนี้ได้นั้น เราจำเป็นต้องฝึกพัฒนาจิตให้สมบูรณ์จนสามารถเห็นความงามมาตรฐานได้ บางคนอาจทำสมาธิ บางคนอาจฝึกฝนทางศิลปะจนชำนาญ เป็นต้น นักสุนทรียศาสตร์ในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ พลาโต ( Plato )
อริสโตเติล ( Aristotle ) และเฮเกล ( Hegel ) เป็นต้น
3. กลุ่มที่เชื่อว่า หลักเกณฑ์ในการตัดสินสุนทรียศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ สัมพัทธนิยม ” ( Relativism ) เป็นกลุ่มที่มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มอัตนัยนิยม แต่ต่างกันตรงที่กลุ่มสัมพัทธนิยมนั้นมีความเชื่อว่า กฎเกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น หรือขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ตลอดจนดิน ฟ้า อากาศของแต่ละพื้นที่ โดยไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้วิจารณ์ เพราะผู้วิจารณ์จะต้องวางตัวเป็นกลางและต้องสำนึกอยู่ในใจเสมอว่า ตนเองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคม ดังนี้แล้ว เกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์จึงเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมบ้าง ตามสภาพของภูมิอากาศ ภูมิประเทศนั้น ๆ บ้าง แล้วแต่สภาวะแวดล้อมจะพาไป นั่นเอง นักสุนทรียศาสตร์ในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ซานตายานา ( Santayana ) และแซมมวล อาเล็กซันเดอร์ ( Samuel Alexander ) เป็นต้น

ที่มา : วนิดา ขำเขียว. สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ : พรานนกการพิมพ์, 2543.


คลังบทความของบล็อก


นางสาวพัชรินทร์ นะสีโต นักศึกษาพยาบาลศาสตรต่อเนื่องรุ่นที่16